พลเมือง
สถานภาพทางกฎหมาย ที่จะทำให้บุคคลมีเอกสิทธิ์และความรับผิดชอบจากความเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ในรัฐ สถานภาพของพลเมืองสามารถได้มาโดย 3 วิธี คือ (1) โดยที่เกิด (หลักดินแดน) หรือได้ความเป็นพลเมืองโดยสถานที่เกิด (2) โดยสายเลือด (หลักสายโลหิต) หรือได้ความเป็นพลเมืองโดยการเกิด คือกำหนดโดยความจงรักภักดีของบิดามารดา และ (3) โดยการแปลงสัญชาติ คือ การถ่ายโอนความจงรักภักดีอย่างเป็นทางการ
ความสำคัญ การมีสถานภาพของพลเมือง จะทำให้บุคคลได้หลักประกันว่าตนจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายและจากอำนาจของรัฐตน แต่พลเมืองก็จะมีหน้าที่ที่ต้องทำ เช่น เสียภาษีอากรแก่ประเทศของตนและเป็นทหารรับใช้ในกองทัพของประเทศตน กับจะมีสิทธิบางอย่าง เช่น สิทธิในการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง และเมื่อไปอยู่ที่ต่างประเทศก็จะสามารถเรียกร้องขอรับการบริการจากคณะทูตและกงสุลจากประเทศตนได้ด้วย สถานภาพของพลเมืองอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ว่าโดยทั่ว ๆ ไปแล้วการสิ้นสุดความเป็นพลเมืองเป็นไปได้ด้วยเหตุผลดังนี้ คือ (1) ไปพำนักอยู่ในต่างประเทศนานๆ (2) รับใช้รัฐต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต (3) กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐอื่น และ (4) แปลงสัญชาติ บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองของสองประเทศได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลักกฎหมายของสองประเทศนั้น หรือที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นบุคคลอาจจะกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่สามารถร้องขอความคุ้มครองจากประเทศใด ๆ ตามสิทธิของความเป็นพลเมืองได้
Thursday, October 8, 2009
Citizenship : Alien
ความเป็นพลเมือง : คนต่างด้าว
บุคคลที่มิได้เป็นพลเมืองหรือมีสัญชาติของรัฐที่ตนเข้าไปพักพิงอยู่นั้น หลักการทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศมีอยู่ว่า รัฐมีอำนาจอธิปไตยภายในและมีอิสระที่จะรับหรือจะขับไล่คนต่างด้าวได้ตามแต่จะเลือก รัฐต่าง ๆ จะขยายสิทธิพลเมืองส่วนใหญ่ที่ให้แก่พลเมืองของตนแล้วนั้น (ยกเว้นสิทธิทางการเมือง) ไปให้แก่คนต่างด้าวด้วย สิทธิของพลเมืองเหล่านี้โดยปกติ ได้แก่ (1) สิทธิเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา (2) สิทธิที่จะประกอบอาชีพการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง (3) สิทธิที่จะทำสัญญา ถือครอง เป็นทายาท และโอนอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายระหว่างประเทศได้ให้การรับรองในข้อแตกต่างระหว่างคนต่างด้าวประจำที่มีภูมิลำเนาอยู่ประจำกับคนต่างด้าวที่เข้าไปพักพิงอยู่ชั่วคราว คนต่างด้าวประเภทที่อยู่ประจำนั้นอาจจะต้องทำหน้าที่หลายอย่างเหมือนกับพลเมืองของประเทศนั้น ๆ อาทิ เสียภาษีอากรและเป็นทหารในกองทัพ เป็นต้น และเพื่อประโยชน์ของทางการ พวกเขาอาจจะถูกจำกัดสิทธิบางอย่างได้ อาทิ มีข้อผูกพันว่าจะต้องแจ้งให้รัฐบาลประเทศนั้น ๆ ได้ทราบเกี่ยวกับที่พำนัก และอาชีพการงาน เป็นต้น เป็นระยะ ๆ นอกจากนั้นแล้วคนต่างด้าวก็อาจจะถูกขับออกนอกประเทศได้ แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า การขับออกนอกประเทศจะต้องไม่เป็นการกระทำที่มีอคติต่อพลเมืองของต่างประเทศประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ความสำคัญ กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของคนต่างด้าว ตลอดจนที่ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของรัฐ กำลังอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ คือ อยู่ในระหว่างดำเนินการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากมีการเดินทางท่องเที่ยวและการคมนาคมติดต่อกันเพิ่มมากขึ้น เรื่องที่เป็นประเด็นโต้แย้งกันมากก็คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับอคติต่อพลเมืองของประเทศนั้นประเทศนี้เป็นการเฉพาะในรูปของนโยบายการเข้าเมือง นอกจากนั้นแล้วจากผลของสงครามและการปฏิวัติ ก็จะทำให้พลเมืองเป็นจำนวนมากได้สถานภาพเป็นคนต่างด้าวประเภทผู้ลี้ภัยขึ้นมาได้ ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวก็คือ คนไร้สัญชาติที่ไม่สามารถขอความคุ้มครองจากประเทศใด ๆ ได้ และกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ๆ ที่มักจะได้รับการปฏิบัติเป็นคนต่างด้าวทางวัฒนธรรม ในประเทศที่พวกเขาเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่นั้น
บุคคลที่มิได้เป็นพลเมืองหรือมีสัญชาติของรัฐที่ตนเข้าไปพักพิงอยู่นั้น หลักการทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศมีอยู่ว่า รัฐมีอำนาจอธิปไตยภายในและมีอิสระที่จะรับหรือจะขับไล่คนต่างด้าวได้ตามแต่จะเลือก รัฐต่าง ๆ จะขยายสิทธิพลเมืองส่วนใหญ่ที่ให้แก่พลเมืองของตนแล้วนั้น (ยกเว้นสิทธิทางการเมือง) ไปให้แก่คนต่างด้าวด้วย สิทธิของพลเมืองเหล่านี้โดยปกติ ได้แก่ (1) สิทธิเสรีภาพในการพูดและการนับถือศาสนา (2) สิทธิที่จะประกอบอาชีพการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง (3) สิทธิที่จะทำสัญญา ถือครอง เป็นทายาท และโอนอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายระหว่างประเทศได้ให้การรับรองในข้อแตกต่างระหว่างคนต่างด้าวประจำที่มีภูมิลำเนาอยู่ประจำกับคนต่างด้าวที่เข้าไปพักพิงอยู่ชั่วคราว คนต่างด้าวประเภทที่อยู่ประจำนั้นอาจจะต้องทำหน้าที่หลายอย่างเหมือนกับพลเมืองของประเทศนั้น ๆ อาทิ เสียภาษีอากรและเป็นทหารในกองทัพ เป็นต้น และเพื่อประโยชน์ของทางการ พวกเขาอาจจะถูกจำกัดสิทธิบางอย่างได้ อาทิ มีข้อผูกพันว่าจะต้องแจ้งให้รัฐบาลประเทศนั้น ๆ ได้ทราบเกี่ยวกับที่พำนัก และอาชีพการงาน เป็นต้น เป็นระยะ ๆ นอกจากนั้นแล้วคนต่างด้าวก็อาจจะถูกขับออกนอกประเทศได้ แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขกำหนดไว้ว่า การขับออกนอกประเทศจะต้องไม่เป็นการกระทำที่มีอคติต่อพลเมืองของต่างประเทศประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ความสำคัญ กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของคนต่างด้าว ตลอดจนที่ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของรัฐ กำลังอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ คือ อยู่ในระหว่างดำเนินการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากมีการเดินทางท่องเที่ยวและการคมนาคมติดต่อกันเพิ่มมากขึ้น เรื่องที่เป็นประเด็นโต้แย้งกันมากก็คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับอคติต่อพลเมืองของประเทศนั้นประเทศนี้เป็นการเฉพาะในรูปของนโยบายการเข้าเมือง นอกจากนั้นแล้วจากผลของสงครามและการปฏิวัติ ก็จะทำให้พลเมืองเป็นจำนวนมากได้สถานภาพเป็นคนต่างด้าวประเภทผู้ลี้ภัยขึ้นมาได้ ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวก็คือ คนไร้สัญชาติที่ไม่สามารถขอความคุ้มครองจากประเทศใด ๆ ได้ และกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ๆ ที่มักจะได้รับการปฏิบัติเป็นคนต่างด้าวทางวัฒนธรรม ในประเทศที่พวกเขาเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่นั้น
Citizenship : Dual Nationality
ความเป็นพลเมือง : การมีสองสัญชาติ
การที่บุคคลถือครองความเป็นพลเมืองของประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศพร้อม ๆ กัน การมีสองสัญชาติสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลได้ความเป็นพลเมืองในประเทศหนึ่งโดยทางบิดามารดา (หลักสายโลหิต) แล้วไปได้ความเป็นพลเมืองในประเทศที่สองที่ตนเกิด (หลักดินแดน) อีก นอกจากนั้นแล้วการมีสองสัญชาติก็ยังเป็นผลมาจากการที่บุคคลเป็นพลเมืองโดยการเกิดในประเทศหนึ่งแล้วไปได้ความเป็นพลเมืองโดยการแปลงสัญชาติในอีกประเทศหนึ่งเพิ่มขึ้นมาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะประเทศแรกไม่รับรองสิทธิของบุคคลที่จะสละความจงรักภักดีของตนไป
ความสำคัญ การมีสองสัญชาติกลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้นั้นเนื่องจากว่าบุคคลผู้นั้นเดินทางไปมาระหว่างสองรัฐ ซึ่งแต่ละรัฐต่างก็อ้างถึงความจงรักภักดีที่บุคคลนั้นมีต่อรัฐตนโดยเหตุผลที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นบุคคลผู้นั้นก็จึงมีสิทธิและหน้าที่สองชุดด้วยกัน ซึ่งสิทธิและหน้าที่บางอย่างในสองชุดนี้ก็จะมีความขัดแย้งกันได้ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสองมักจะพบว่าบุคคลผู้นี้มีหน้าที่ที่จะต้องไปเป็นทหารในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือในทั้งสองประเทศพร้อม ๆ กัน ในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ การอ้างสิทธิของทั้งสองรัฐมักจะดำเนินการแก้ไขในทางที่จะเป็นคุณแก่รัฐที่มีเขตอำนาจโดยทางพฤตินัยเหนือบุคคลผู้นั้นจริง ๆ บุคคลที่มีสองสัญชาตินี้ ท่านผู้รู้แนะนำว่าควรจะได้ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับสถานภาพของตนเสียก่อนที่จะเดินทางไปมาระหว่างสองรัฐที่อ้างถึงความจงรักภักดีที่แตกต่างกันนั้น
การที่บุคคลถือครองความเป็นพลเมืองของประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศพร้อม ๆ กัน การมีสองสัญชาติสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลได้ความเป็นพลเมืองในประเทศหนึ่งโดยทางบิดามารดา (หลักสายโลหิต) แล้วไปได้ความเป็นพลเมืองในประเทศที่สองที่ตนเกิด (หลักดินแดน) อีก นอกจากนั้นแล้วการมีสองสัญชาติก็ยังเป็นผลมาจากการที่บุคคลเป็นพลเมืองโดยการเกิดในประเทศหนึ่งแล้วไปได้ความเป็นพลเมืองโดยการแปลงสัญชาติในอีกประเทศหนึ่งเพิ่มขึ้นมาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะประเทศแรกไม่รับรองสิทธิของบุคคลที่จะสละความจงรักภักดีของตนไป
ความสำคัญ การมีสองสัญชาติกลายเป็นปัญหาขึ้นมาได้นั้นเนื่องจากว่าบุคคลผู้นั้นเดินทางไปมาระหว่างสองรัฐ ซึ่งแต่ละรัฐต่างก็อ้างถึงความจงรักภักดีที่บุคคลนั้นมีต่อรัฐตนโดยเหตุผลที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นบุคคลผู้นั้นก็จึงมีสิทธิและหน้าที่สองชุดด้วยกัน ซึ่งสิทธิและหน้าที่บางอย่างในสองชุดนี้ก็จะมีความขัดแย้งกันได้ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสองมักจะพบว่าบุคคลผู้นี้มีหน้าที่ที่จะต้องไปเป็นทหารในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือในทั้งสองประเทศพร้อม ๆ กัน ในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ การอ้างสิทธิของทั้งสองรัฐมักจะดำเนินการแก้ไขในทางที่จะเป็นคุณแก่รัฐที่มีเขตอำนาจโดยทางพฤตินัยเหนือบุคคลผู้นั้นจริง ๆ บุคคลที่มีสองสัญชาตินี้ ท่านผู้รู้แนะนำว่าควรจะได้ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับสถานภาพของตนเสียก่อนที่จะเดินทางไปมาระหว่างสองรัฐที่อ้างถึงความจงรักภักดีที่แตกต่างกันนั้น
Citizenship : Expatriation
ความเป็นพลเมือง : การถอนสัญชาติ
การกระทำโดยรัฐบาลอันเป็นเหตุให้บุคคลถูกถอดถอนออกจากความเป็นพลเมือง ทั้งนี้จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลผู้นั้นเอง หรือจากการร้องขอของบุคคลนั้นก็ได้ การกระทำที่ใช้เป็นเหตุให้มีการถอนสัญชาติในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ก็คือ การที่บุคคลผู้นั้นได้ดำเนินการดังนี้ (1) กระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐอื่น (2) เป็นทหารในกองทัพต่างชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต (3) ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของต่างประเทศ และ (4) ประกาศสละความเป็นพลเมืองของตนในที่สาธารณะ สาเหตุสำคัญของการถูกถอนสัญชาติมักจะเป็นการกระทำโดยความสมัครใจของบุคคลผู้นั้นเองยิ่งกว่าจะเป็นการกระทำของฝ่ายรัฐบาล
ความสำคัญ บุคคลที่ถอนสัญชาติตนเองนั้น มักจะไม่ทราบว่าตนถอนสัญชาติไปแล้ว และเขาก็อาจจะไม่เข้าใจถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนอีกด้วย เมื่อได้มีการถอนสัญชาติไปแล้วและยังไม่ได้มีการแปลงสัญชาติในประเทศอื่นใด บุคคลผู้นั้นก็จะกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถ (1) มีที่พำนักถาวร (2)มีหนังสือเดินทาง และ (3) มีวีซ่าที่จะเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ กล่าวโดยย่อ ก็คือ บุคคลผู้นั้นไม่สามารถร้องขอความคุ้มครองในเรื่องของสิทธิจากรัฐใด ๆ ได้
การกระทำโดยรัฐบาลอันเป็นเหตุให้บุคคลถูกถอดถอนออกจากความเป็นพลเมือง ทั้งนี้จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลผู้นั้นเอง หรือจากการร้องขอของบุคคลนั้นก็ได้ การกระทำที่ใช้เป็นเหตุให้มีการถอนสัญชาติในประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ก็คือ การที่บุคคลผู้นั้นได้ดำเนินการดังนี้ (1) กระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐอื่น (2) เป็นทหารในกองทัพต่างชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต (3) ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของต่างประเทศ และ (4) ประกาศสละความเป็นพลเมืองของตนในที่สาธารณะ สาเหตุสำคัญของการถูกถอนสัญชาติมักจะเป็นการกระทำโดยความสมัครใจของบุคคลผู้นั้นเองยิ่งกว่าจะเป็นการกระทำของฝ่ายรัฐบาล
ความสำคัญ บุคคลที่ถอนสัญชาติตนเองนั้น มักจะไม่ทราบว่าตนถอนสัญชาติไปแล้ว และเขาก็อาจจะไม่เข้าใจถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนอีกด้วย เมื่อได้มีการถอนสัญชาติไปแล้วและยังไม่ได้มีการแปลงสัญชาติในประเทศอื่นใด บุคคลผู้นั้นก็จะกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถ (1) มีที่พำนักถาวร (2)มีหนังสือเดินทาง และ (3) มีวีซ่าที่จะเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ กล่าวโดยย่อ ก็คือ บุคคลผู้นั้นไม่สามารถร้องขอความคุ้มครองในเรื่องของสิทธิจากรัฐใด ๆ ได้
Citizenship : Jus Sanguinis
ความเป็นพลเมือง : หลักสายโลหิต
หลักสายเลือด หรือหลักที่ว่าด้วยการเกิดที่ทำให้บุคคลได้ความเป็นพลเมืองตามบิดามารดา หลักสายโลหิตเป็นหนึ่งในสองหลักกฎหมายที่รัฐนำมาใช้เป็นแนวทางกำหนดความเป็นพลเมืองโดยการเกิด อีกหลักหนึ่ง ก็คือ หลักดินแดน
ความสำคัญ รัฐที่ปฏิบัติตามหลักสายโลหิต จะกำหนดเรื่องสัญชาติให้เป็นไปตามหลักของสายเลือดบิดามารดายิ่งกว่าหลักสถานที่เกิด ภายใต้หลักสายโลหิตมีตัวอย่าง เช่น ทารกที่เกิดมาโดยมีบิดามารดาเป็นคนสัญชาติอังกฤษ แม้ไปเกิดอยู่นอกเขตอำนาจตามกฎหมายสหราชอาณาจักรก็จะยังเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักร แม้ว่าหลักพื้นฐานที่สหราชอาณาจักรใช้คือหลักดินแดนก็ตาม ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปส่วนใหญ่แล้วจะยึดหลักสายโลหิตนี้ทั้งนั้น
หลักสายเลือด หรือหลักที่ว่าด้วยการเกิดที่ทำให้บุคคลได้ความเป็นพลเมืองตามบิดามารดา หลักสายโลหิตเป็นหนึ่งในสองหลักกฎหมายที่รัฐนำมาใช้เป็นแนวทางกำหนดความเป็นพลเมืองโดยการเกิด อีกหลักหนึ่ง ก็คือ หลักดินแดน
ความสำคัญ รัฐที่ปฏิบัติตามหลักสายโลหิต จะกำหนดเรื่องสัญชาติให้เป็นไปตามหลักของสายเลือดบิดามารดายิ่งกว่าหลักสถานที่เกิด ภายใต้หลักสายโลหิตมีตัวอย่าง เช่น ทารกที่เกิดมาโดยมีบิดามารดาเป็นคนสัญชาติอังกฤษ แม้ไปเกิดอยู่นอกเขตอำนาจตามกฎหมายสหราชอาณาจักรก็จะยังเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักร แม้ว่าหลักพื้นฐานที่สหราชอาณาจักรใช้คือหลักดินแดนก็ตาม ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปส่วนใหญ่แล้วจะยึดหลักสายโลหิตนี้ทั้งนั้น
Citizenship : Jus Soli
ความเป็นพลเมือง : หลักดินแดน
หลักที่ว่าความเป็นพลเมืองของบุคคลได้มาจากสถานที่เกิด หลักดินแดนเป็นหนึ่งในสองหลักทางกฎหมายที่รัฐต่าง ๆ นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดความเป็นพลเมืองบุคคลโดยการเกิด อีกหลักหนึ่ง ก็คือ หลักสายโลหิต
ความสำคัญ หลักดินแดน คือ หลักของความเป็นพลเมืองที่มีการนำมาใช้ปฏิบัติโดยประเทศที่ประชาชนพูดภาษาอังกฤษ และประเทศในแถบละตินอเมริกาส่วนใหญ่ ยกตัวอย่าง เช่น ทารกที่เกิดภายในเขตอำนาจทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ก็จะเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ แม้ว่าบิดามารดาของทารกนั้นจะไม่มีสิทธิ์ได้ความเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ ก็ตาม มีข้อยกเว้นเฉพาะทารกที่เกิดจากนักการทูตต่างประเทศ ที่เข้าไปทำงานอยู่ในประเทศที่ปฏิบัติตามหลักดินแดนนี้เท่านั้น
หลักที่ว่าความเป็นพลเมืองของบุคคลได้มาจากสถานที่เกิด หลักดินแดนเป็นหนึ่งในสองหลักทางกฎหมายที่รัฐต่าง ๆ นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดความเป็นพลเมืองบุคคลโดยการเกิด อีกหลักหนึ่ง ก็คือ หลักสายโลหิต
ความสำคัญ หลักดินแดน คือ หลักของความเป็นพลเมืองที่มีการนำมาใช้ปฏิบัติโดยประเทศที่ประชาชนพูดภาษาอังกฤษ และประเทศในแถบละตินอเมริกาส่วนใหญ่ ยกตัวอย่าง เช่น ทารกที่เกิดภายในเขตอำนาจทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ก็จะเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ แม้ว่าบิดามารดาของทารกนั้นจะไม่มีสิทธิ์ได้ความเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ ก็ตาม มีข้อยกเว้นเฉพาะทารกที่เกิดจากนักการทูตต่างประเทศ ที่เข้าไปทำงานอยู่ในประเทศที่ปฏิบัติตามหลักดินแดนนี้เท่านั้น
Citizenship : nationality
ความเป็นพลเมือง : สัญชาติ
สัมพันธภาพทางกฎหมายระหว่างบุคคลกับรัฐ ที่จะทำให้บุคคลสามารถร้องขอความคุ้มครองจากรัฐได้ และรัฐเองก็กำหนดให้บุคคลผู้นั้นต้องมีความจงรักภักดีและมีพันธกรณีบางอย่างต้องทำด้วย สัญชาติสามารถได้มาโดยการเกิดหรือโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งกฎเกณฑ์ของแต่ละวิธีจะแตกต่างในแต่ละประเทศ หลักการที่ว่าบุคคลสามารถถูกถอดถอนสัญชาติได้นี้ ได้เป็นที่ยอมรับกันในระบบรัฐในปัจจุบัน ส่วนวิธีถอดถอนสัญชาติที่รัฐต่าง ๆ ให้การรับรอง ได้แก่ (1) การสละสัญชาติ (ดีเนชั่นนอลไลเซชั่น) (2) การสละการแปลงสัญชาติ (ดีเนจอรัลไลเซชั่น) (3) การถอดถอนสัญชาติ (เอ็กแพตริเอชั่น) และ (4) การบอกเลิกสัญชาติ (รีนันซิเอชั่น)
ความสำคัญ สัญชาติบ่งบอกถึงการเป็นสมาชิกในรัฐ การขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ ระหว่างรัฐที่ยึดหลักสายโลหิตกับรัฐที่ยึดหลักดินแดน ในทำนองเดียวกัน การขัดแย้งก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคนที่เกิดในรัฐที่ยึดหลักว่าความจงรักภักดีที่ให้ต่อรัฐแล้วต้องให้เลยจะเรียกคืนไม่ได้นี้ได้ไปเป็นบุคคลที่แปลงสัญชาติของอีกรัฐหนึ่ง ด้วยเหตุที่บุคคลมีการเดินทางไปมาระหว่างรัฐต่าง ๆ มีจำนวนมากขึ้น ความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องสัญชาตินี้ก็จึงมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ ดังนั้นก็จึงมีความพยายามอย่างยืดยื้อและต่อเนื่องที่จะทำประมวลกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องนี้อยู่ต่อไป
สัมพันธภาพทางกฎหมายระหว่างบุคคลกับรัฐ ที่จะทำให้บุคคลสามารถร้องขอความคุ้มครองจากรัฐได้ และรัฐเองก็กำหนดให้บุคคลผู้นั้นต้องมีความจงรักภักดีและมีพันธกรณีบางอย่างต้องทำด้วย สัญชาติสามารถได้มาโดยการเกิดหรือโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งกฎเกณฑ์ของแต่ละวิธีจะแตกต่างในแต่ละประเทศ หลักการที่ว่าบุคคลสามารถถูกถอดถอนสัญชาติได้นี้ ได้เป็นที่ยอมรับกันในระบบรัฐในปัจจุบัน ส่วนวิธีถอดถอนสัญชาติที่รัฐต่าง ๆ ให้การรับรอง ได้แก่ (1) การสละสัญชาติ (ดีเนชั่นนอลไลเซชั่น) (2) การสละการแปลงสัญชาติ (ดีเนจอรัลไลเซชั่น) (3) การถอดถอนสัญชาติ (เอ็กแพตริเอชั่น) และ (4) การบอกเลิกสัญชาติ (รีนันซิเอชั่น)
ความสำคัญ สัญชาติบ่งบอกถึงการเป็นสมาชิกในรัฐ การขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ ระหว่างรัฐที่ยึดหลักสายโลหิตกับรัฐที่ยึดหลักดินแดน ในทำนองเดียวกัน การขัดแย้งก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคนที่เกิดในรัฐที่ยึดหลักว่าความจงรักภักดีที่ให้ต่อรัฐแล้วต้องให้เลยจะเรียกคืนไม่ได้นี้ได้ไปเป็นบุคคลที่แปลงสัญชาติของอีกรัฐหนึ่ง ด้วยเหตุที่บุคคลมีการเดินทางไปมาระหว่างรัฐต่าง ๆ มีจำนวนมากขึ้น ความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องสัญชาตินี้ก็จึงมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ ดังนั้นก็จึงมีความพยายามอย่างยืดยื้อและต่อเนื่องที่จะทำประมวลกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องนี้อยู่ต่อไป
Subscribe to:
Posts (Atom)