Google

Thursday, October 8, 2009

International Law : Rebus Sic Stantibus

กฎหมายระหว่างประเทศ : หลักที่ว่าพันธกรณีตามสนธิสัญญายังคงอยู่เมื่อสถานการณ์ยังคงเดิม

หลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเงื่อนไขที่สนธิสัญญาได้รับการลงนามนั้น จะทำให้รัฐเป็นอิสระจากพันธกรณีของสนธิสัญญาได้ หลักการที่ว่าพันธกรณีตามสนธิสัญญายังคงอยุ่เมื่อสถานการณ์ยังคงเดิมอยู่นี้ ใช้เป็นเหตุผลสำหรับอ้างเพื่อบอกเลิกข้อผูกพันทางสัญญาโดยฝ่ายเดียวได้ หลักการนี้ยืนยันว่าสนธิสัญญาทุกฉบับมีข้อกำหนดที่มิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเงื่อนไขที่มีอยู่ในเวลาที่สนธิสัญญาได้รับการลงนามนั้น จะเปลี่ยนแปลงพันธกรณีที่กำหนดไว้โดยสนธิสัญญาได้

ความสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมีเสถียรภาพได้นั้น เป็นการจำเป็นที่ข้อตกลงต่าง ๆ จะต้องได้รับการปฏิบัติตาม (หลักที่ว่าสัญญาเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม) แต่หลักการที่ว่าพันธกรณีตามสนธิสัญญายังคงอยู่เมื่อสถานการณ์ยังคงเดิมนี้ รัฐก็อาจจะต้องนำมาใช้หากความอยู่รอดของตนถูกคุกคามจากการที่ตนยังจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญานั้นอยู่ต่อไป แต่ข้อยืนยันของหลักการนี้น่าจะมีปัญหาในเรื่องของความถูกต้องเมื่อรัฐเห็นว่าพันธกรณีที่ตนมีอยู่นั้นเป็นการไม่สะดวก ไม่ยุติธรรม ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสถานภาพของตน หรือเป็นการทำลายเกียรติภูมิของตน ทั้งสองหลักการ คือ หลักการที่ว่าสัญญาเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม และหลักการที่ว่าพันธกรณีตามสนธิสัญญายังคงอยู่เมื่อสถานการณ์ยังคงเดิม ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้สอดประสานซึ่งกันและกันในหลักการก็ได้ หลักการที่ว่าสนธิสัญญาจะต้องมีสภาพบังคับให้มีการปฏิบัติตามนั้น จะต้องได้รับการยอมรับหากว่าจะต้องดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบนรากฐานของหลักนิติธรรมต่อไป แต่ในขณะเดียวกันพันธกรณีตามสนธิสัญญาเมื่อนาน ๆ เข้าก็จะต้องมีการเจรจากันใหม่หรือมีการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ หากการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดนั้นจะก่อให้เกิดความวุ่นวายและความขัดแย้งขึ้นมาได้

No comments:

Post a Comment