Google

Thursday, October 8, 2009

International Lawmaking : Hague Peace Conferences (1899 and 1907)

การบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศ : การประชุมสันติภาพที่กรุงเฮก (ค.ศ. 1899 และ 1907)
การประชุมระหว่างประเทศทั่วไปครั้งแรก ที่มีการเรียกร้องให้ทำประมวลและพัฒนากฎเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาทางด้านอาวุธยุทธภัณฑ์และสงคราม การประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกซึ่งมีรัฐต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกันถึง 26 ชาตินี้ก่อให้เกิดอนุสัญญาต่าง ๆ ดังนี้ คือ (1) อนุสัญญาว่าด้วยการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี (2) อนุสัญญาว่าด้วยกฎเกณฑ์สำหรับพฤติกรรมของสงครามและการปฏิบัติต่อเชลยศึก (3) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของชาติเป็นกลาง และ (4) อนุสัญญาว่าด้วยกฎเกณฑ์ควบคุมพฤตกรรมการเก็บหนี้ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดีการประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกก็มิได้สร้างข้อตกลงทั่วไปในเรื่องสำคัญ ๆ เกี่ยวกับ (1) การลดกำลังรบ (2) การจำกัดอาวุธยุทธภัณฑ์ และ (3) การอนุญาโตตุลาการโดยการบังคับ

ความสำคัญ คุณูปการที่สำคัญยิ่งของการประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกที่มีต่อแนวทางสันติภาพ ก็คือ การจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการถาวรที่กรุงเฮก รัฐที่เข้าร่วมประชุมได้รับการกระตุ้น (แต่ไม่ถึงกับมีพันธกรณี)ที่จะต้องนำกรณีพิพาทมาให้ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรนี้ได้พิจารณายิ่งกว่าจะหันไปใช้สงครามเพื่อแก้ไขข้อพิพาท ถึงแม้ว่าการประชุมจะว่าด้วยเรื่องของการป้องกันมิให้เกิดสงคราม แต่ก็มิได้ทำให้สงครามเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และในข้อตกลงสุดท้าย 14 ฉบับนั้นก็มีถึง 12 ฉบับเป็นข้อตกลง ว่าด้วยการควบคุมสงครามเท่านั้นเอง การประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์เนื่องจาก (1) การเข้าร่วมประชุมของชาติต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสากลเป็นครั้งแรก (2) ทั้งรัฐใหญ่และรัฐเล็กเข้าร่วมกันโดยยึดความเสมอภาพของอำนาจอธิปไตย และ (3) มีการจัดตั้งกลไกการรักษาสันติภาพ และ(4) มีการใช้การทูตแบบรัฐสภาเป็นแบบของการประชุมซึ่งเป็นการวางแบบแผนเป็นตัวอย่างไว้สำหรับระบบสันนิบาตชาติและระบบสหประชาชาติ

No comments:

Post a Comment