Google

Thursday, October 8, 2009

International Lawmaking : Codification

การบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศ: การทำประมวลกฎหมาย

การจัดระบบและทำถ้อยแถลงว่าด้วยกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ การทำประมวลกฎหมายนี้มีความจำเป็นต้องให้มีเพื่อการพัฒนารุดหน้าของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะ (1) กฎเกณฑ์ที่นำมาใช้กับพฤติกรรมของรัฐมีการสั่งสมมาเป็นเวลานานแล้ว (2) สภาพแวดล้อมที่จะนำกฎเกณฑ์นี้มาใช้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว (3) รัฐต่าง ๆ มักจะมีผลประโยชน์และทำการตีความกฎหมายแตกต่างกันไป การทำประมวลกฎหมายจะดำเนินการดังนี้ คือ (1) ทำการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับได้จริง ๆ (2) ทำการกำหนดให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและมาตรฐานความยุติธรรมในปัจจุบัน และ (3) สร้างระบบใหม่ขึ้นมาทั้งระบบเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของกฎหมายตามอุดมคติ

ความสำคัญ ได้มีความพยายามทำประมวลกฎหมายระหว่างประเทศครั้งสำคัญในที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยหัวข้อต่าง ๆ ทางกฎหมาย ที่สำคัญได้แก่ประมวลกฎหมายเกี่ยวกับด้านทหารและด้านที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ที่กระทำโดยที่ประชุมกรุงเฮกปี ค.ศ. 1899 และปี ค.ศ. 1907 และในอนุสัญญาเจนีวาปี ค.ศ. 1929 โดยทำประมวลกฎหมายเกี่ยวกับหัวข้อที่ว่าด้วยการยึดครองดินแดนและเชลยศึกเป็นต้น การประชุมเพื่อทำประมวลกฎหมายของสันนิบาตชาติเมื่อมี ค.ศ. 1930 ก่อให้เกิดข้อตกลงกว้าง ๆ ว่าด้วยหัวข้อเรื่องสัญชาติ ส่วนความพยายามที่ประสบความสำเร็จอื่น ๆ ได้แก่ (1) การประชุมเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล (ปี ค.ศ. 1958 , 1960 และ 1982 ) และ (2) การประชุมเวียนนาว่าด้วยเอกสิทธิ์และการคุ้มกันทางการทูตปี ค.ศ. 1961 และว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลปี ค.ศ. 1963 ส่วนในมาตรา 13 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ก็ได้มอบหมายให้สมัชชาใหญ่ให้การสนับสนุนการทำประมวลกฎหมายระหว่างประเทศนี้ และเมื่อปี ค.ศ. 1947 สมัชชาใหญ่ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ ให้มาทำการศึกษาในด้านนี้โดยเฉพาะ

No comments:

Post a Comment