ความเป็นพลเมือง : สัญชาติ
สัมพันธภาพทางกฎหมายระหว่างบุคคลกับรัฐ ที่จะทำให้บุคคลสามารถร้องขอความคุ้มครองจากรัฐได้ และรัฐเองก็กำหนดให้บุคคลผู้นั้นต้องมีความจงรักภักดีและมีพันธกรณีบางอย่างต้องทำด้วย สัญชาติสามารถได้มาโดยการเกิดหรือโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งกฎเกณฑ์ของแต่ละวิธีจะแตกต่างในแต่ละประเทศ หลักการที่ว่าบุคคลสามารถถูกถอดถอนสัญชาติได้นี้ ได้เป็นที่ยอมรับกันในระบบรัฐในปัจจุบัน ส่วนวิธีถอดถอนสัญชาติที่รัฐต่าง ๆ ให้การรับรอง ได้แก่ (1) การสละสัญชาติ (ดีเนชั่นนอลไลเซชั่น) (2) การสละการแปลงสัญชาติ (ดีเนจอรัลไลเซชั่น) (3) การถอดถอนสัญชาติ (เอ็กแพตริเอชั่น) และ (4) การบอกเลิกสัญชาติ (รีนันซิเอชั่น)
ความสำคัญ สัญชาติบ่งบอกถึงการเป็นสมาชิกในรัฐ การขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ ระหว่างรัฐที่ยึดหลักสายโลหิตกับรัฐที่ยึดหลักดินแดน ในทำนองเดียวกัน การขัดแย้งก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคนที่เกิดในรัฐที่ยึดหลักว่าความจงรักภักดีที่ให้ต่อรัฐแล้วต้องให้เลยจะเรียกคืนไม่ได้นี้ได้ไปเป็นบุคคลที่แปลงสัญชาติของอีกรัฐหนึ่ง ด้วยเหตุที่บุคคลมีการเดินทางไปมาระหว่างรัฐต่าง ๆ มีจำนวนมากขึ้น ความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องสัญชาตินี้ก็จึงมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ ดังนั้นก็จึงมีความพยายามอย่างยืดยื้อและต่อเนื่องที่จะทำประมวลกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องนี้อยู่ต่อไป
No comments:
Post a Comment