Google

Thursday, October 8, 2009

International Lawmaking : Genocide

การบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศ : การฆ่าล้างชาติ

การทำลายหมู่ซึ่งมวลมนุษย์เนื่องมาจากเหตุผลทางเผ่าพันธุ์ ทางศาสนา ทางสัญชาติ หรือทางชาติพันธุ์ ความวิตกของชาวโลกเกี่ยวกับการฆ่าล้างชาตินี้ ได้รับการกระตุ้นมาจากการสังหารหมู่ที่พวกนาซีกระทำต่อชาวยิว ตลอดจนกลุ่มเผ่าพันธุ์และกลุ่มชาติอื่น ๆ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1948 จึงได้ยอมรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ. 1951 หลังจากที่ 20 ชาติได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้แล้ว อาชญากรรมที่ได้รับการรับรองในอนุสัญญาฯมีประเภทต่าง ๆ ดังนี้ (1) การฆ่า (2) การทำทารุณกรรมทางร่างกายหรือจิตใจ (3) การสร้างสภาวะเลวร้ายให้แก่ชีวิต (4) การบังคับให้คุมกำเนิด และ (5) การพรากทารกจากคนกลุ่มหนึ่งไว้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง บุคคลผู้ประกอบกรรมการฆ่าล้างชาติหรือยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ มีสิทธิได้รับโทษทันฑ์ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหรือบุคคลพลเรือนก็ตาม

ความสำคัญ การฆ่าล้างชาติที่โลกปัจจุบันให้การรับรองว่าเป็นอาชญากรรมที่สมควรได้รับการประณามมากที่สุดอย่างหนึ่งนี้ จำเป็นจะต้องให้มีการดำเนินการแก้ไขในระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะว่าการฆ่าล้างชาตินี้อาจกระทำโดยรัฐบาลหรือด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลก็ได้ สหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำในการยกย่างอนุสัญญาฉบับนี้ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่องปี ค.ศ. 1951 แต่วุฒิสภาสหรัฐได้ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันเพราะมหาชนอเมริกันไม่ให้ควมสนใจและมีความเชื่อว่าข้อกำหนดบางมาตราของอนุสัญญาอาจจะไปละเมิดกฎหมายสหพันธรัฐและบางมาตราก็อาจจะละเมิดอำนาจที่สงวนไว้สำหรับมลรัฐต่าง ๆ ได้ แต่ในที่สุดแล้วอนุสัญญาฯ ก็ได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภาสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1986 ถึงแม้ว่าอนุสัญญาฯ จะกำหนดให้แต่ละชาติรับผิดชอบภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศต่อการกระทำฆ่าล้างชาตินี้ แต่ก็ยังไม่มีการจัดตั้งสถาบันต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อให้มาบังคับใช้ในระดับระหว่างประเทศแต่อย่างใด

No comments:

Post a Comment