Google

Thursday, October 8, 2009

International Lawmaking : International Legislation

การบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศ : การตรากฎหมายระหว่างประเทศ

สนธิสัญญาหรืออนุสัญญาแบบพหุภาคีที่ออกแบบไว้เพื่อทำการประมวล ดัดแปลง และริเริ่มกฎเกณฑ์ทางกฎหมายให้รัฐต่าง ๆ นำไปปฏิบัติในความสัมพันธ์ระหว่างกัน การตรากฎหมายระหว่างประเทศจะสำเร็จได้ก็โดยการมี “สนธิสัญญาสร้างกฎหมาย” นี้เท่านั้น ทั้งนี้เพราะรัฐต่าง ๆ ยืนยันว่าเมื่อระบบรัฐมีอำนาจอธิปไตยนี้ยังทำงานอยู่ต่อไป รัฐต่าง ๆ จะสามารถมีพันธกรณีได้ก็โดยความยินยอมของตนเท่านั้น สนธิสัญญาสร้างกฎหมายนี้สามารถเขียนขึ้นมา(1)โดยการประชุมเฉพาะกิจ (2) โดยสถาบันในระดับภูมิภาค และ (3) โดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น ทบวงการชำนัญพิเศษต่าง ๆ และสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ วิธีดำเนินการที่สหประชาชาตินำมาใช้เพื่อทำการตรากฎหมายระหว่างประเทศมีดังนี้ (1) ให้คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ไอแอลซี) ทำการศึกษา ซึ่งก็จะส่งผลให้มีการร่างมาตราต่าง ๆ ของข้อตกลงขึ้นมา จากนั้นก็ยื่นให้สมัชชาใหญ่ได้พิจารณา (2) สมัชชาจะมีมติเรียกร้องให้มีการประชุมนานาชาติเพื่อพิจารณาร่างดังกล่าว (3) มีการให้การยอมรับและให้สัตยาบันโดยรัฐแต่ละรัฐ และ (4) มีการจดทะเบียนข้อตกลงโดยเลขาธิการสหประชาชาติ การตรากฎหมายระหว่างประเทศโดยการใช้ “สนธิสัญญาสร้างกฎหมาย“ มีตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ คือ อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยทะเลอำณาเขตและเขตต่อเนื่อง (ค.ศ. 1958) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการประมง(ค.ศ. 1958) อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต (ค.ศ. 1961) และอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล (ค.ศ. 1963)


ความสำคัญ การตรากฎหมายระหว่างประเทศเป็นแนวความคิดที่ต้องการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อสัมพันธภาพอันดีระหว่างรัฐ จากจุดนี้เองทำให้เห็นข้อคล้ายคลึงกันระหว่างการตรากฎหมายภายในประเทศกับการตรากฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่ากระบวนการทางนิติบัญญัติในแต่ละระดับจะไม่เหมือนกันก็ตาม ไม่มีองค์การนิติบัญญัติของโลกเมื่อเทียบกับฝ่ายนิติบัญญัติภายในของแต่ละชาติ และในการเขียน
กฎบัญญัติสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 1945 นั้น ข้อเสนอให้มีการมอบอำนาจทางนิติบัญญัติให้แก่สมัชชาใหญ่ถูกปฏิเสธอย่างท่วมท้นจากรัฐสมาชิก

No comments:

Post a Comment