Google

Tuesday, October 6, 2009

Legal Settlement : Permanent Court of Arbitration

การระงับข้อพิพาทโดยทางกฎหมาย : ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร

คณะลูกขุนที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติ ซึ่งพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดย อนุสัญญาเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี ที่ได้รับการยอมรับและแก้ไขปรับปรุงโดยที่ประชุมสันติภาพกรุงเฮกปี ค.ศ. 1899 และปี ค.ศ. 1907 คณะอนุญาโตตุลาการที่ประจำอยู่ประกอบด้วยลูกขุนจำนวน 4 คนซึ่งมีความสามารถทางกฎหมายอย่างยอดเยี่ยมที่ได้รับการแต่งตั้งจากภาคีผู้ลงนามแต่ละชาติ คู่กรณีพิพาทแต่ละฝ่ายจะทำการเลือกลูกขุนอีกฝ่ายละ 2 คน ซึ่งในสองคนนี้จะเป็นคนสัญชาติตนได้เพียงคนเดียวเท่านั้น จากนั้นลูกขุนจำนวน 4 คนที่ได้รับการคัดเลือกจากคู่กรณีพิพาทดังกล่าว ก็จะทำการตัดเลือกลูกขุนคนที่ 5 ให้มาทำหน้าที่เป็นประธานผู้ชี้ขาด จากที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า ศาลอนุญาโตตุลาการนี้มิได้เป็นศาลประจำแต่อย่างใด แต่เป็นคณะลูกขุนที่ศาลเลือกมาเท่านั้นเอง คู่กรณีพิพาทจะดำเนินการดังนี้: (1) ค้นหาประเด็นเรื่องที่พิพาทกัน (2) ขีดวงจำกัดอำนาจหน้าที่ของศาล และ (3) ตกลงกันว่าคำตัดสินของศาลที่กระทำภายในขอบเขตจำกัดเหล่านี้จะได้รับการยอมรับว่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย

ความสำคัญ คุณค่าสำคัญของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร มิใช่อยู่ที่เขตอำนาจของศาลฯ แต่อยู่ที่เป็นศาลที่มีอยู่ก่อนเกิดข้อพิพาท และเป็นกลไกที่พร้อมจะให้ใช้ตัดสินข้อพิพาทใด ๆ ได้ทันที อย่างไรก็ตามภาคีผู้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีฉบับนี้ ไม่มีพันธกรณีว่าจะต้องใช้บุคลากรและวิธีดำเนินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรนี้แต่อย่างใด คู่กรณีพิพาทจะตัดสินใจเองเป็นกรณี ๆ ไป เพียงแต่พฤติกรรมของคู่กรณีพิพาทจะถูกควบคุมโดยสนธิสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีอยู่ก่อนหรือโดยข้อกำหนดที่ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการที่มีอยู่ในสนธิสัญญาอย่างอื่น สนธิสัญญาอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่จะเอาอย่างสนธิสัญญาอังกฤษ – ฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1903 ที่กำหนดไว้ว่า หากมีความเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับลักษณะทางกฎหมายและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตีความสนธิสัญญา ก็ให้นำไปให้ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรเป็นผู้พิจารณา ในสนธิสัญญาอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ ปกติจะไม่ข้องแวะเรื่องต่อไปนี้ (1) ผลประโยชน์ที่สำคัญยิ่ง (2) เอกราชหรือเกียรติภูมิของคู่กรณี และ (3) ผลประโยชน์ของฝ่ายที่สาม ในทางปฏิบัติของสหรัฐอเมริกานั้น วุฒิสภาของสหรัฐถือว่าการตัดสินใจแต่ละครั้งที่จะให้มีการอนุญาโตตุลาการภายใต้สนธิสัญญาทั่วไปนั้น เป็นสนธิสัญญาอีกประเภทที่จะต้องขอความเห็นชอบจากวุฒิสภาเสียก่อน ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรกรุงเฮก เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในช่วงแรก ๆ ที่จะสร้างระบบการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีด้วยวิธีทางการทางนิติศาสตร์ และเป็นศาลนำร่องให้แก่ ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ (พีซีไอเจ) ระหว่างยุคสันนิบาตชาติ และเป็นศาลนำร่องให้แก่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ของสหประชาชาติ

No comments:

Post a Comment