เขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : หลักเลือกรับอำนาจศาล
วิธีการที่มีการระบุไว้ในมาตรา 36 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ที่กำหนดไว้ว่า รัฐอาจตกลงเป็นการล่วงหน้าว่าจะยอมรับเขตอำนาจศาลโดยการบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในบางสภาพแวดล้อม หากรัฐยอมรับเขตอำนาจโดยการบังคับนี้ รัฐก็จะยอมรับว่าจะนำข้อขัดแย้งทางกฎหมายทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการตีความสนธิสัญญา กฎหมายระหว่างประเทศ การละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ และจำนวนค่าชดเชยที่จะได้รับไปให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้ตัดสิน
ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการมีหลักเลือกรับอำนาจศาลนี้ ก็คือ เพื่อจะแก้ไขความอ่อนแอของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ไม่สามารถใช้เขตอำนาจของตนเหนือรัฐอธิปไตย ซึ่งหากไม่มีหลักออฟชั่นนอลคลอสนี้ไว้แล้ว รัฐอธิปไตยก็สามารถปฏิเสธที่จะไปปรากฎตัวในศาลได้ รัฐต่าง ๆ กว่า 50 รัฐได้ยอมรับเขตอำนาจศาลโดยการบังคับนี้ ซึ่งเป็นการยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขก็มี ที่ยอมรับโดยมีเงื่อนไขว่ารัฐอื่น ๆ จะต้องถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในแบบเดียวกันก็มี สหรัฐอเมริกายอมรับเขตอำนาจศาลโดยการบังคับนี้ภายใต้หลักเลือกรับอำนาจศาลแต่ก็ได้สงวนสิทธิ์ว่าจะต้องมีการตีความการใช้เขตอำนาจโดยการบังคับนี้ก่อน (ตามคอนนอลลี อะเมนด์เม้นท์) ซึ่งก็ส่งผลให้การยอมรับของสหรัฐฯ ไม่เกิดความหมายอะไรขึ้นมา การที่หลักเลือกรับอำนาจศาลไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้เขตอำนาจโดยการบังคับเป็นที่น่าพอใจได้นั้น แสดงให้เห็นว่า รัฐส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะไว้วางใจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ทำการตัดสินข้อพิพาทในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
No comments:
Post a Comment