เขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : คอนแนลลีอเมนด์เม้นท์
ข้อสงวนสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาในการยอมรับเขตอำนาจศาลภายใต้ “ข้อกำหนดที่เลือกได้ (ออฟชั่นนัลคลอส) ในมาตรา 36 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ปี ค.ศ. 1946 คอนแนลลี อเมนด์เม้นท์ปฏิเสธเขตอำนาจศาลโดยการบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในเรื่องความขัดแย้งที่เกี่ยวกับกิจการซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วอยู่ในเขตอำนาจภายในของสหรัฐอเมริกาโดยให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตัดสิน” ผลกระทบของคอนแนลลี อเมนด์เม้นท์ในทางปฏิบัติ ก็คือ เป็นการทำลายสภาพบังคับของเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตามที่ได้ตั้งเป็นจุดมุ่งหมายเอาไว้นั้น ทั้งนี้ก็เพราะสหรัฐอเมริกามีอิสระที่จะตัดสินว่าอะไรบ้างคือสิ่งที่เป็นกิจการภายในที่พ้นจากเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ความสำคัญ บทบาทของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ถูกลดลงมากจากคอนแนลลี อเมนด์เม้นท์ที่จำกัดอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างรัฐ หลายรัฐได้ยอมรับข้อกำหนดที่เลือกได้นี้ตามอย่างสหรัฐอเมริกาบ้างโดยมีการแนบข้อสงวนสิทธิ์ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนั้น ผลกระทบของแคนแนลลี อเมนด์เม้นต์ของสหรัฐฯ และข้อสงวนอื่น ๆ มีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อมีการนำเรื่องนี้ไปใช้ต่างตอบแทนกันในคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐอื่นที่มิได้แนบข้อสงวนสิทธิ์ในการยอมรับข้อกำหนดที่เลือกได้นั้น ผลที่ตามมาก็คือส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิดข้อพิพาททางกฎหมายขึ้นมา คู่กรณีจะยังคงเป็นฝ่ายตัดสินว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีขอบเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีหรือไม่
No comments:
Post a Comment